ค้นหา * เพื่อไปบทถัดไป ค้นหา # เพื่อไปกรณีตัวอย่างถัดไป <หน้าปก> ทำให้ได้ผล อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ การรณรงค์การพิทักษ์สิทธิสำหรับรัฐบาล ประเทศกัมพูชา, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย <หน้าปกใน> ทำให้ได้ผล อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ แผนงานสนับสนุนการพิทักษ์สิทธิของรัฐบาล ประเทศกัมพูชา, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย ดำเนินงานโดย สมาคมคนพิการสากล ด้วยความร่วมมือจาก คณะกรรมการเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุแห่งชาติ, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมาคมคนพิการแห่งประเทศลาว องค์การผู้พิการแห่งกัมพูชา ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก สนับสนุนโดย สำนักงานประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชนและแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา *สารบัญ I. บทนำ 4 II. ทำให้ได้ผล (Making It Work) 5 III. ความพิการกับสิทธิมนุษยชน 14 IV. คำย่อ 15 V. ผู้สนับสนุนการจัดทำข้อมูล 15 VI. กรณีตัวอย่าง 16 กรณีตัวอย่างในประเทศกัมพูชา -การแปลภาษามือในรายการโทรทัศน์ 16 -แผนงานฝึกอบรมภาษามือสำหรับคนหูหนวก 18 -แผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสำหรับคนพิการทางสายตา 20 -การเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านการติดต่อสื่อสารด้วยคำพูดสำหรับคนพิการ 22 -การส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล, การศึกษาและการติดต่อสื่อสาร 24 กรณีตัวอย่างในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว -การฝึกอบรมทางด้านความเสมอภาคของคนพิการสำหรับสมาคมผู้สื่อข่าว 26 -การฝึกอบรมภาษามือเบื้องต้นสำหรับนักสาธารณสุขในโรงพยาบาล 28 -แฮนด์มีและแฮนด์ทอล์ก: แอพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือและเครื่องมือการเรียนรู้ผ่านทาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 30 -การพัฒนาโปรแกรมเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตา 32 -การเผยแพร่ข้อมูลด้านการบริการสาธารณะในหมู่บ้านชนบท 34 VII. บทสรุป 36 VIII. พันธมิตรอื่น 37 *I. บทนำ +โครงการโดยสมาคมคนพิการสากล โครงการ “การรณรงค์การพิทักษ์สิทธิสำหรับรัฐบาลประเทศกัมพูชา, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศไทย” พยายามส่งเสริมศักยภาพขององค์กรคนพิการ( DPOs) เพื่อให้การรณรงค์อย่างมีประสิทธิผลในด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับคนพิการโดยการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ (CRPD) การริเริ่มการรณรงค์สิทธิคนพิการโดยการนำเสนอด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์โดยองค์กรด้านคนพิการในประเทศกัมพูชาและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ส่วนประเทศไทยนั้นเป็นศูนย์ภูมิภาคในการดำเนินโครงการ, การประสานงานและการสนับสนุนทางเทคนิค โครงการจะใช้อนุสัญญาฯ ข้อ 21 “เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น และการเข้าถึงสารสนเทศ” เป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการรณรงค์สิทธิคนพิการด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ที่นำไปสู่การตอบรับจากชุมชน, หน่วยงานท้องถิ่นและรัฐบาล โครงการมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาศักยภาพองค์กรคนพิการในประเทศกัมพูชาและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อผลักดันให้เกิดการกำหนดนโยบายและการขับเคลื่อนการบริการ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสำนักงานประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชนและแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา +เกี่ยวกับสมาคมคนพิการสากล สมาคมคนพิการสากลเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศที่มีความอิสระและยุติธรรม โดยดำเนินงานด้านความยากจนและการถูกแบ่งแยก, ความขัดแย้งและภัยพิบัติ การทำงานร่วมกับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสโดยลงมือปฏิบัติและเป็นพยานเพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน, ปรับปรุงคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการเคารพในศักดิ์ศรีและ สิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการ สมาคมคนพิการสากลถูกก่อตั้งในปี พ.ศ.2525 โดยมีเครือข่ายใน 8 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศเบลเยี่ยม, ประเทศแคนาดา, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเยอรมัน, ประเทศลักเซมเบิร์ก, ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และประเทศอังกฤษและร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.2540 มีโครงการใน 60 ประเทศทั่วโลกและดำเนินงานทั้งด้านภาวะฉุกเฉินและการพัฒนา *II. ทำให้ได้ผล (Making It Work) โครงการ “ทำให้ได้ผล” (MIW) เป็นวิธีเก็บข้อมูลและเผยแพร่กรณีตัวอย่างตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อนุสัญญาฯ นี้มีผลในทางปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้น +แนวทางการปฏิบัติ แนวทางการปฏิบัติสำหรับโครงการและการผลิตรายงานนี้ได้ถูกพัฒนาตามหลักการและวิธีการทำให้ได้ผลของสมาคมคนพิการสากล การทำให้ได้ผลเป็นการริเริ่มโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายกลุ่มทั่วโลกโดยมี จุดมุ่งหมายให้มีการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (www.makingitwork-crpd.org) โครงการทำให้ได้ผลเป็นการร่วมกันของกลุ่มองค์กรที่หลากหลายทั้งจากองค์กรด้านคนพิการ, สิทธิมนุษยชนและการพัฒนาต่างๆทั่วโลก เพื่อจำแนกและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นสำคัญด้านคนพิการ มีการเก็บข้อมูลเพื่อปรับปรุงความรู้ของผู้ปฏิบัติงานและผู้ตัดสินใจ มีการจูงใจให้เกิดการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและการเมืองอย่างยั่งยืน โครงการทำให้ได้ผลใช้วิธีใหม่ที่มีเอกลักษณ์เพื่อส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและการเมืองด้านคนพิการ แทนที่จะมุ่งเน้นด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออะไรที่ไม่ได้ผล โครงการทำให้ได้ผลเน้นความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปในสิ่งที่ได้ผลและการปฏิบัติตามต้นแบบหรือขยายผล แนวการปฏิบัตินี้ยังได้ผลโดยเฉพาะกับประเทศที่มีความจำกัดทางด้านทรัพยากร โครงการทำให้ได้ผลส่งเสริมวิธีการจากล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) สำหรับการพัฒนาแบบบูรณาการซึ่งประชาสังคมถือประโยชน์ร่วมไปที่สิ่งที่เกิดผลและทำอย่างไรและองค์กรที่ทำงานในภาคสนาม (รวมทั้งองค์กรด้านคนพิการ) ได้มีโอกาสกำหนดขอบข่ายการทำงานพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ มีการติดต่อและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ตัดสินใจที่ทำให้เกิดพัฒนา โครงการทำให้ได้ผลไม่คำนึงถึงขนาดหรือบริบทมีองค์ประกอบสี่ส่วนด้วยกัน + ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วน โครงการฯ เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนสร้างพันธมิตรและเสริมสร้างศักยภาพให้กับกลุ่มได้ทำงานร่วมกันในการเก็บข้อมูลและตรวจสอบกรณีตัวอย่าง อีกทั้งมีการใช้ประสบการณ์นี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง + กรณีตัวอย่าง โครงการฯ มุ่งเน้นไปที่การบ่งชี้, การเก็บข้อมูล, และการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจว่าเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร + คนพิการ โครงการฯ มีจุดประสงค์ที่จะให้คนพิการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบว่าสิ่งใดใช้ได้ผลและองค์กรด้านคนพิการมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการโครงการนี้ + การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลง โครงการฯ สนับสนุนผู้ปฏิบัติในการใช้กรณีตัวอย่างและการให้ข้อเสนอแนะเพื่อก่อให้เกิดการปลี่ยนแปลง อีกทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างศักยภาพให้แก่องค์กรด้านคนพิการในการรณรงค์สิทธิคนพิการที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ความหมายในทางรูปธรรมคืออะไร? • การทำงานร่วมกัน การรวมตัวเพื่อสร้างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนที่มุ่งมั่นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนพิการ • การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกรณีตัวอย่างโดยใช้บรรทัดฐานที่กำหนดร่วมกันโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วน • การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดนั้นมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและสามารถปฏิบัติตามต้นแบบหรือทำให้ยั่งยืนได้อย่างไร • คนพิการและองค์กรที่เป็นผู้แทนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน เช่น การให้คนพิการเป็นผู้ตรวจสอบว่าสิ่งใดใช้ได้ผล • การใช้กรณีตัวอย่างเหล่านี้ก่อให้เกิดการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยมีแนวทางจากตัวอย่างที่ใช้ได้ผลเพื่อเสริมสร้างสิทธิคนพิการ วิธีการ ตามหลักแนวทางปฏิบัติของโครงการทำให้ได้ผล การดำเนินโครงการฯ มีห้าขั้นตอนในการจัดทำรายงาน ได้แก่ การตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วน, การประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของคนพิการในการเข้าถึงข้อมูล, กลยุทธในการเปลี่ยนและกำหนดบรรทัดฐานในการคัดเลือกกรณีตัวอย่าง, การบ่งชี้กรณีตัวอย่างและการเก็บข้อมูลกรณีตัวอย่างที่มีอยู่โดยคำนึงถึงสภาพท้องถิ่นและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขั้นที่ 1: การตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วน ในการออกแบบ, การปฏิบัติและตรวจสอบการบริการชุมชนนั้น มีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่ต้องพิจารณาอยู่ สามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการ, กลุ่มประชาสังคมในฐานะผู้ใช้บริการ (ซึ่งรวมทั้งคนพิการและองค์กรคนพิการ) และกลุ่มผู้กำหนดนโยบายหรือเจ้าหน้าที่ แผนภูมิด้านล่างแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์, บทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในกระบวนการให้บริการและการพัฒนา โครงการทำให้ได้ผลใช้แนวทางการมีส่วนร่วมและการประสานกับหลายภาคส่วนในการดำเนินโคงการรวมทั้งการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาโดยมีผู้แทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ องค์กรคนพิการ, กระทรวงและผู้เชี่ยวชาญ วัตถุประสงค์หลักของคณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งชาติคือ 1 เพื่อสนับสนุนกระบวนการบ่งชี้, การคัดเลือก, และการตัดสินขั้นสุดท้ายของการคัดเลือกตัวอย่างกรณีตัวอย่าง 2 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาข้อเสนอแนะและการวางแผนจากประสบการณ์จากกรณีตัวอย่างที่มีอยู่ 3 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการตรวจสอบการปฏิบัติแผนพัฒนาจากประสบการณ์จากกรณีตัวอย่างที่มีอยู่และแผนการพัฒนาที่อิงตามบทเรียนจากกรณีตัวอย่างที่มีอยู่และนโยบายข้อเสนอแนะด้านนโยบายในภายหลัง เจ้าหน้าที่, ผู้กำหนดนโยบาย (ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น) - วางระเบียบ, กำหนดเป้าหมายทางยุทธศาสตร์และนโยบาย - ประเมินความต้องการ, รับรองการเข้าถึง, ให้คำปรึกษาและรับรองการมีส่วนร่วมของคนพิการในการตัดสินใจ - วางระเบียบ, จัดสรรอย่างพอเพียง, ควบคุม, ประเมิน, บ่งชี้นวัตกรรม, ปฏิบัติตามนวัตกรรมต้นแบบ, ประกันคุณภาพ (รับรองคุณภาพ) ผู้ใช้ (กลุ่มผู้พิการ-ทำหน้าที่แทนโดยกลุ่มองค์กรคนพิการ) - ขอรับบริการ, รณรงค์สิทธิ, มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ - ใช้และตรวจสอบ - ขอรับบริการ, เลือกใช้บริการ, ประเมินคุณภาพบริการ ผู้ให้บริการ (ส่วนตัวและสาธารณะ) - จัดหาบริการ, แจ้งความต้องการ, มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ - วิเคราะห์ความต้องการ, จัดหาบริการ, รับรองการเข้าถึง - ให้บริการที่มีคุณภาพ ขั้นที่ 2: ประเมินสถานการณ์ของคนพิการ หนึ่งในสี่หลักการสำคัญของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติคือ หลักการที่ว่าด้วยการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การที่รัฐสามารถปฏิบัติตามอนุสัญญาในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไปทั้งด้านเศรษฐกิจ, สังคมและสิทธิทางวัฒนธรรม หลักการนี้ยอมรับความเป็นจริงที่ว่าการพัฒนาในแต่ละท้องที่นั้นย่อมมีแตกต่างกัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด การปฏิบัติตามของอนุสัญญาฯ ย่อมต้องการการลงทุนอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้น ในระยะเริ่มต้นนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการวินิจฉัยสถานการณ์ของคนพิการในกลุ่มเป้าหมายและเข้าใจอุปสรรคที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เครื่องมือการประเมินสถานการณ์สำหรับโครงการฯ นี้ ได้ถูกพัฒนาเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของ คนพิการในการเข้าถึงข้อมูล ในระหว่างการประเมินสถานการณ์ คณะทำงานของโครงการฯ ได้พบกับผู้ใช้บริการที่หลากหลาย ได้แก่ องค์กรคนพิการและสมาคมชุมชนต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ได้จัดให้มีการอภิปรายโดยกลุ่มเป้าหมายเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับ 4 คำถามหลัก ดังนี้ • ข้อมูลด้านใดที่ท่านจำเป็นที่จะต้องรู้? • ท่านได้รับข้อมูลได้อย่างไร? • ท่านเผชิญกับช่องว่างอะไรบ้างในปัจจุบัน? • ท่านมีตัวอย่างกรณีตัวอย่างที่ท่านได้มีประสบการณ์ ในการเข้าถึงข้อมูลหรือไม่? ขั้นที่ 3: กลยุทธในการเปลี่ยนและกำหนดบรรทัดฐานในการคัดเลือกกรณีตัวอย่าง ข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมระหว่างการประเมินสถานการณ์ทำให้คณะทำงานที่นำแนวทางการปฏิบัติมีความเข้าใจ เกี่ยวกับประสบการณ์ของคนพิการในส่วนต่างๆของประเทศได้ดีขึ้น (เช่น ในท้องถิ่นชนบท, ชานเมือง, ท้องถิ่นห่างไกล)ในแง่ของการเข้าถึงข้อมูล โดยผ่านการวิเคราะห์จากข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวม คณะทำงานสามารถเข้าใจได้ดีขึ้นถึงชนิดของข้อมูลที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนพิการได้และข้อมูลชนิดใดที่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ การกำหนดบรรทัดฐานในการเลือกกรณีตัวอย่าง ทั้ง 5 กรณี เอ. บรรทัดฐานที่เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ บี. บรรทัดฐานที่เกี่ยวกับเนื้อหาบริบทแห่งชาติ ซี. บรรทัดฐานท้องถิ่น เอ. บรรทัดฐานที่เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ ข้อ 3: หลักการทั่วไป • การเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเอง รวมถึงเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง และความเป็นอิสระของบุคคล • การไม่เลือกปฎิบัติ • การเข้าไปมีส่วนร่วมและเข้าร่วมได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลในสังคม • การเคารพความแตกต่างและการยอมรับว่าคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายของมนุษย์และมนุษยชาติ • ความเท่าเทียมกันของโอกาส • ความสามารถในการเข้าถึง • ความเท่าเทียมกันระหว่างชายกับหญิง • การเคารพขีดความสามารถของเด็กพิการที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและการเคารพสิทธิของเด็กพิการเพื่อสงวนรักษาอัตลักษณ์แห่งตน ข้อ 5: ความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ ข้อ 8: การสร้างความตระหนัก ข้อ 9: ความสามารถในการเข้าถึง ข้อ 19: การอยู่ได้โดยอิสระและการเป็นส่วนหนึ่งในชุมชน ข้อ 21: เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงสารสนเทศ • อิสระในการค้นหา ได้รับ และเผยแพร่ข้อมูล • การเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะแก่คนพิการในรูปแบบและเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้และเหมาะสมต่อความพิการในรูปแบบต่างๆ ภายในเวลาที่เหมาะสมและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม • การยอมรับและอำนวยความสะดวกในการใช้ภาษามือ, อักษรเบรลล์, การสื่อสารทางเลือกและการสื่อสารเสริมและวิธีการเข้าถึงการสื่อสารอื่นๆ • การยอมรับและส่งเสริมการใช้ภาษามือ ข้อ 24: การศึกษา ข้อ 26: การส่งเสริมสมรรถภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ข้อ 30: การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม, นันทนาการ, การผ่อนคลายยามว่างและกีฬา บี. บรรทัดฐานที่เกี่ยวกับเนื้อหาบริบทแห่งชาติ 1. ประเทศกัมพูชา ประเทศกัมพูชาประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการปกป้องและส่งเสริมสิทธิคนพิการ (PPRPD) ในเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ.2552 • มาตรา 32: กระทรวงที่รับผิดชอบด้านสารสนเทศจะต้องเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ ของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความพิการและสิทธิคนพิการเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่น, ความเข้าใจและความร่วมมือด้านสิทธิของคนพิการ มาตรา 44: คนพิการทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงหรือในการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชาและตามกฎหมายเลือกตั้ง • มาตรา 45: ห้ามการทำให้ผู้สมัครที่พิการเสื่อมเสียและห้ามเลือกปฎิบัติต่อผู้สมัครที่พิการ 2. ประเทศลาว • กฤษฎีกาเกี่ยวกับคนพิการ (แบบร่างสุดท้าย) ส่วนที่ 2, มาตรา 3, 10 ส่วนที่ 8, มาตรา 28, 29 และ 30 • กฤษฎีกาว่าด้วยการส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (กระทรวงสาธารณสุข) • สาระสำคัญในส่วน 15, 20, 23และ35 ในแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานแห่งชาติ ปี พ.ศ.2554-พ.ศ. 2558 ด้านการเรียนร่วม • แผนยุทธศาสตร์ของสมาคมคนหูหนวกด้านการเผยแพร่ภาษามือ ทั้งภาครัฐบาล, เอกชน, องค์กรพัฒนาเอกชน และสังคม ซี. บรรทัดฐานท้องถิ่น การบ่งชี้อุปสรรคหลักๆ ในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับคนพิการในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับคณะทำงาน เช่น คนหูหนวกไม่สามารถฟังวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประเทศได้ การบ่งชี้กรณีตัวอย่างในการลดอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับคนพิการนั้น คณะทำงานได้พิจารณาบรรทัดฐาน 5 ข้อ ได้แก่ ความพร้อมใช้งานได้, การเข้าถึงได้, การแสวงหาได้, การดัดแปลงได้และการยอมรับได้ + ความพร้อมใช้งานได้ กรณีตัวอย่างที่เกี่ยวกับความพร้อมใช้งานได้จะส่งผลกระทบในการทำให้มีบริการเฉพาะพร้อมให้บริการสำหรับ คนพิการมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การขยายจำนวนโรงเรียนแบบเรียนร่วมสำหรับคนพิการให้เพิ่มขึ้น + การเข้าถึงได้ กรณีตัวอย่างที่เกี่ยวกับการเข้าถึงได้จะส่งผลกระทบในการทำให้บริการเฉพาะที่เข้าถึงได้สำหรับคนพิการมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การดัดแปลงอาคารให้คนพิการด้านกายภาพสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น + ความสามารถในการแสวงหา กรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแสวงหาจะส่งผลกระทบในการทำให้บริการเฉพาะที่เข้าถึงได้สำหรับคนพิการโดยมีต้นทุนลดลงสำหรับทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ที่ให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในอินเทอร์เน็ต + การดัดแปลงได้ กรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปลงได้จะส่งผลกระทบในการทำให้บริการเฉพาะที่เข้าถึงได้สำหรับคนพิการจำนวนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น รถเข็นคนพิการหรือไม้เท้าคนพิการสามารถปรับให้เหมาะสมกับความสูงของผู้ใช้งานแต่ละคนได้ + การยอมรับได้ กรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับได้จะส่งผลกระทบในการทำให้คนพิการพึงพอใจการใช้บริการมากขึ้น กรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับได้มักจะสัมพันธ์กับทัศนคติและความเข้าใจของผู้ให้บริการที่มีต่อคนพิการ ขั้นที่ 4: การบ่งชี้กรณีตัวอย่างและการเก็บข้อมูลกรณีตัวอย่างที่มีอยู่โดยคำนึงถึงสภาพท้องถิ่น การอภิปรายโดยกลุ่มเป้าหมายในชุมชนและคนพิการในเมือง, ชานเมืองและชนบทของแต่ละประเทศได้ถูกจัดขึ้นเพื่อบ่งชี้กรณีตัวอย่างในการเข้าถึงข้อมูล โดยมุ่งเน้นความพิการทุกประเภทรวมทั้งอายุและเพศเป็นประเด็นในการพิจารณาด้วย กลุ่มเป้าหมายชุมชนได้พิจารณา 5 กรณีเป็นกรณีตัวอย่าง มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาโดยการสัมภาษณ์แบบคำถามกึ่งตายตัว มีการสัมภาษณ์ทั้งผู้ให้บริการ (ได้แก่ องค์กรคนพิการ, สื่อต่างๆ) และผู้ใช้บริการ (ได้แก่ คนพิการ) ขั้นที่ 5: การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง • ในขั้นตอน “ยุทธศาสร์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” ที่สำคัญ 10 ขั้นตอน มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 10 ประการ มีกรณีตัวอย่าง 10 กรณีที่ถูกบันทึกเพื่อใช้สำหรับการรณรงค์การพิทักษ์สิทธิ • การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อยู่ในส่วน “ข้อแนะนำ” ในแต่ละกรณีตัวอย่างที่นำเสนอในเอกสารนี้ การรณรงค์การพิทักษ์สิทธิโดยหลักฐานเชิงประจักษ์มีกระบวนการ 5 ขั้นตอนในวงจร ยุทธศาสตร์การรณรงค์การพิทักษ์สิทธิป็นวงจรความร่วมมือถาวรซึ่งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิคนพิการ *III. ความพิการกับสิทธิมนุษยชน ได้มีการลงมติรับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการและพิธีสารเลือกรับเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ กรุงนิวยอร์คและได้เปิดให้ลงนามในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550 82 ประเทศได้ลงนามในอนุสัญญาฯ, 44 ประเทศลงนามพิธีสารเลือกรับและ 1 ประเทศให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ นับเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติที่มีจำนวนประเทศที่ลงนามมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ เป็นสนธิสัญญาด้าน สิทธิมนุษยชนฉบับแรกในศตวรรษที่ 21 และเป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเปิดให้ลงนามโดยองค์กร ระหว่างภูมิภาค อนุสัญญาฯ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551 ข้อ 21-เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงสารสนเทศ ให้รัฐภาคีดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงเพื่อประกันให้คนพิการสามารถใช้สิทธิในการมีเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นรวมถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและเผยแพร่สารสนเทศและความคิดบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น และโดยผ่านรูปแบบการสื่อสารทั้งปวงที่คนพิการเลือก ตามที่ได้นิยามไว้ในข้อ 2 ของอนุสัญญานี้ โดยรวมถึง เอ) การจัดให้มีสารสนเทศที่มีไว้สำหรับประชาชนทั่วไปแก่คนพิการในรูปแบบและเทคโนโลยีที่สามารถ เข้าถึงได้และเหมาะสมต่อความพิการในรูปแบบต่างๆ ภายในเวลาที่เหมาะสมและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม บี) การยอมรับและอำนวยความสะดวกการใช้ภาษามืออักษรเบรลล์, การสื่อสารทางเลือกและการสื่อสารเสริม และช่องทาง, วิธีการและรูปแบบการสื่อสารทั้งปวงที่สามารถเข้าถึงได้ ที่คนพิการเลือกในการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐ ซี) การเร่งรัดองค์กรภาคเอกชนให้บริการประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงบริการอินเทอร์เน็ตเพื่อให้สารสนเทศและบริการในรูปแบบที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ดี) การสนับสนุนให้สื่อมวลชน รวมทั้งผู้ให้สารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต จัดทำบริการของตนให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้ อี) การยอมรับและส่งเสริมการใช้ภาษามือ *IV. คำย่อ ABC สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศกัมพูชา (Association of Blind in Cambodia) APCD ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Development Center on Disability) AFD สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Association for the Deaf in Lao PDR) CBR การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (Community-Based Rehabilitation) CDPO องค์การคนพิการแห่งประเทศกัมพูชา (Cambodian Disabled People’s Organization) DDP แผนงานพัฒนาคนหูหนวก (Deaf Development Program) DPO องค์กรคนพิการ (Disabled People’s Organization) DRET การฝึกอบรมสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการ (Disability Rights and Equality Training) HI สมาคมคนพิการสากล (Handicap International) IEC ข้อมูลข่าวสาร, การศึกษาและการสื่อสาร (Information, Education and Communication) LAB สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Association of the Blind) KT ครูว์ซาร ทเมยย์ (Krousar Thmey) LDPA สมาคมคนพิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Disabled People’s Association) NCDE คณะกรรมการเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุแห่งชาติ (National Committee for Disabled and Elderly People) NEC คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ (National Election Committee) NECTEC ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) NGO องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organization) NRC ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแห่งชาติ (National Rehabilitation Center) MIW ทำให้ได้ผล (Making It Work) SHG กลุ่มช่วยเหลือกันเอง (Self-Help Group) TAB สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (Thailand Association of the Blind) TVK สถานีโทรทัศน์แห่งชาติกัมพูชา (National Television of Kampuchea) CRPD อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) *V. ผู้สนับสนุนการจัดทำข้อมูล - สมาคมคนหูหนวกแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศลาว *VI. กรณีตัวอย่าง +กรณีศึกษาในประเทศกัมพูชา #การแปลภาษามือในรายการโทรทัศน์ ในอดีต คนหูหนวกและคนหูตึงในประเทศกัมพูชา มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ แต่ในปัจจุบัน คนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นโดยผ่านการแปลภาษามือในรายการโทรทัศน์บางรายการ ในจำนวนสถานีโทรทัศน์ทั้งหมด 10 ช่องของประเทศกัมพูชา มี 2 สถานี คือสถานีโทรทัศน์แห่งชาติกัมพูชา (National Television of Cambodia-TVK) และสถานีโทรทัศน์บายน (Bayon Television-Bayon TV) เท่านั้นที่มีการแปลภาษามือในบางรายการที่ออกอากาศผ่านทางสถานี สถานีโทรทัศน์ TVK เริ่มใส่ภาษามือลงในรายการโทรทัศน์ เมื่อเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2549 ตามคำสั่งของกระทรวงสารสนเทศแห่งประเทศกัมพูชา ที่จัดให้มีการเข้าถึงข้อมูลสำหรับคนพิการโดยเฉพาะคนหูหนวก มีการแปลภาษามือสำหรับรายการข่าวประจำสัปดาห์และรายการสรุปข่าวในรอบปี นอกจากนั้น การแปลภาษามือจะถูกรวมไว้ในการออกอากาศ เช่น หัวข้อข่าวในการเลือกตั้งของประเทศและการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นร้อนและอยู่ในความสนใจ นับตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2551 มีการแปลภาษามือในบางรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์บายน โดยครอบคลุมข่าวกิจกรรมของรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้ง กิจกรรมพิเศษอื่นๆ มีการแปลภาษามือ 4 ครั้งต่อวัน สำหรับวันธรรมดาและวันเสาร์ ส่วนวันอาทิตย์นั้นจะมีการแปลภาษามือ 2 ครั้งต่อวัน ทั้งสถานีโทรทัศน์ TVK และสถานีโทรทัศน์บายน ได้มีการร่วมมือกับแผนงานพัฒนาคนหูหนวก(Deaf Development Program) และ Krousar Thmey ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการแปลภาษามือสำหรับรายการโทรทัศน์ นาย ยาร์ต วิลา นักเรียนหูหนวกในแผนงานพัฒนาคนหูหนวก ให้สัมภาษณ์ว่า “อาจารย์สอนภาษามือเป็นคนทำให้ผมรู้ว่าสถานีโทรทัศน์ TVK และสถานีโทรทัศน์บายนมีการแปลภาษามือในบางรายการแล้ว ผมสามารถเรียนรู้ เกี่ยวกับสถานการณ์ เหตุการณ์ปัจจุบันในสังคม การดูโทรทัศน์จึงน่าสนใจขึ้นมากสำหรับผม” นาย ศก คอ นักเรียนหูหนวก Krousar Thmey กล่าวว่า “ผมทราบว่ามี 2 สถานีที่มีการแปลภาษามือในรายการโทรทัศน์ ผมดูรายการโทรทัศน์เหล่านั้น ผมหวังว่าสถานีโทรทัศน์ ช่องอื่นๆ จะสามารถแปลภาษามือเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ ข่าวกีฬาเช่น ฟุตบอลและชกมวย ผมอยากให้มีคำบรรยายภาษาเขมรในภาพยนต์ทุกเรื่อง” นางสาว วง จันทร์ ครูหูหนวก Krousar Thmey กล่าวว่า “ฉันเห็นรายการโทรทัศน์ที่มีการแปลภาษามือเป็นครั้งแรกที่โรงเรียน รายการแรกที่ฉันดูคือรายการข่าวในประเทศและข่าวต่างประเทศของสถานีโทรทัศน์ TVK เมื่อหลายปีก่อน ฉันเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงอุบัติเหตุการจราจร, น้ำท่วมและภัยพิบัติต่างๆ, การเลือกตั้ง และ การประชุมรัฐมนตรี ฉันไม่สามารถเข้าใจอะไรได้เลยนอกจากภาพในจอโทรทัศน์ถ้าไม่มีภาษามือ ตอนนี้ ฉันเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในสังคมของเรา ฉันดูรายการของโทรทัศน์บายนบ่อยขึ้น ไม่ค่อยดูรายการของสถานีโทรทัศน์ TVK บ่อยนัก เพราะว่ารายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ TVK นั้น จะออกอากาศประมาณสี่ทุ่มซึ่งดึกเกินไปสำหรับฉัน ฉันหวังว่าทุกๆรายการโทรทัศน์จะมีการแปลภาษามือ” นาย อัง ริทที หัวหน้าหน่วยงานด้านพิธีการของสถานีวิทยุบายนและเครือข่ายโทรทัศน์ กล่าวว่า “สถานีโทรทัศน์บายน มีการแปลภาษามือในรายการข่าวทั้งข่าวในประเทศและต่างประเทศเพื่อที่จะได้เข้าถึงกลุ่มคนพิการและเพื่อเป็นการกระตุ้นความตระหนักรู้สำหรับคนในสังคมให้มากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างทั่วถึง” นอกจากนี้ นาย อัง ริทที ยังกล่าวเสริมว่า “สถานีโทรทัศน์บายนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สถานีโทรทัศน์อื่นๆ เรายินดีที่จะสนับสนุนการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ถึงความต้องการของคนพิการทางการได้ยินที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล” ในความเป็นจริงแล้วนั้น รัฐบาลกัมพูชาได้ประกาศกฎหมายคุ้มครองและสนับสนุนสิทธิของคนพิการ ในเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2552 ตามมาตรา 32 นั้น ระบุว่า “กระทรวงที่รับผิดชอบด้านสารสนเทศจะต้องให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการกระตุ้นการตระหนักถึงคนพิการและสิทธิของคนพิการเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ความเข้าใจและการยอมรับในสิทธิของคนพิการ กลุ่มเครือข่ายสื่อเอกชนต่างๆก็ควรที่จะมีการส่งเสริมการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในกิจกรรมพิเศษต่างๆดังกล่าว” นโยบายเหล่านี้เป็นส่วนช่วยเปิดโอกาสให้สื่อในการพิจารณาความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูลสำหรับทุกคน รวมทั้ง คนพิการประเภทต่างๆ ในประเทศกัมพูชา ในขณะเดียวกัน การเพิ่มจำนวนผู้แปลภาษามือที่ได้รับการฝึกอบรมให้เพิ่มขึ้นเพื่อตอบรับความต้องการจากสื่อก็เป็นสิ่งที่ท้าทายในประเทศกัมพูชา คนหูหนวกและคนพิการทางการได้ยินในประเทศกัมพูชามีความหวังที่สถานีโทรทัศน์ทั้ง 8 สถานีจะมีการแปลภาษามืออยู่ในรายการของพวกเขา โดยความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนหูหนวก นางสาว จันทร์ กล่าวว่า “หากว่าเรามีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น คนหูหนวกก็จะสามารถทำอะไรได้อีกมาก” การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - การประชุมร่วมกับกระทรวงสารสนเทศในการประกาศคำสั่งให้มีการแปลภาษามือในรายการโทรทัศน์ทุกช่อง รูปภาพ 1 การแปลภาษามือในรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์บายน 2 นางสาว วง จันทร์ จาก Krousar Thmey ให้ความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบการแปลภาษามือในรายการโทรทัศน์ 3 นาย อัง ริทที จากสถานีโทรทัศน์บายน อธิบายการแปลภาษามือในรายการโทรทัศน์ #แผนงานฝีกอบรมภาษามือสำหรับคนหูหนวก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 2 องค์กรหลักที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนหูหนวกในประเทศกัมพูชา คือ Krousar Thmey และแผนงานพัฒนาคนหูหนวกได้ร่วมกันจัดฝึกอบรมการใช้ภาษามือสำหรับคนหูหนวกขึ้น ในประเทศกัมพูชา สถานการณ์คนหูหนวกในประเทศกัมพูชาในช่วงก่อนที่จะมีการพัฒนานั้นแตกต่างจากปัจจุบันมาก คนหูหนวกไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคนในครอบครัวหรือคนอื่นในชุมชนได้ เนื่องจากยังไม่มีแผนงานฝึกอบรมภาษามือในประเทศกัมพูชา คนหูหนวกและคนมีการได้ยินไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ นอกจากพยายามใช้มือและการแสดงท่าทาง ชีวิตทางสังคมของคนหูหนวกถูกจำกัดและมีประสบการณ์การเลือกปฎิบัติและไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดี คนหูหนวกมีความมั่นใจมากขึ้นหลังจากได้รับการฝึกอบรมภาษามือโดยสององค์กร ชีวิตทางสังคมของคนหูหนวกเริ่มน่าสนใจมากขึ้นเนื่องจากการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และการมีส่วนร่วมในชีวิตสังคม รวมทั้งในสังคมออนไลน์ นางสาว ทวน รักษมี นักเรียนหูหนวก Krousar Thmey กล่าวว่า “ฉันเข้าโรงเรียนครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ปี และก็หยุดไป ปัจจุบันนี้ ฉันอายุ 22 ปี และยังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 12 ฉันรู้สึกดีใจมากเพราะว่าฉันสามารถสื่อสารกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนและคนอื่นๆได้ พูดได้ว่าชีวิตของฉันเปลี่ยนไป ฉันเข้าใจภาษามือ และได้เรียนวรรณคดีอังกฤษและเขมร ฉันสื่อสารกับเพื่อนๆ ฉันเข้าร่วมการฝึกอบรมทักษะระยะสั้นกับ Krousar Thmey” รักษมี กล่าวเสริมว่า “เดี๋ยวนี้ฉันสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในเรื่องการศึกษา, การดูแลสุขภาพ, การพัฒนาชุมชน และการเลือกตั้ง ในอนาคตฉันอยากเป็นครูเพื่อที่จะได้มีรายได้ไว้จุนเจือครอบครัว” นางสาว เกง นัท นักเรียนหูหนวก แผนงานพัฒนาคนหูหนวกให้ความเห็นว่า “ฉันดีใจมากเมื่อฉันมีโอกาสได้รับการฝึกอบรม ฉันได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นและเดี๋ยวนี้ฉันสามารถอ่านและเขียนได้แล้ว ฉันมีเพื่อนดีหลายคน” นัทกล่าวเสริมว่า “เดี๋ยวนี้ ฉันสามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลาย ฉันไม่รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติในขณะที่เรียนอยู่ที่แผนงานพัฒนาคนหูหนวก ฉันกับเพื่อนๆ ตั้งใจที่จะเข้าร่วมสังคม” ตามข้อตกลงระหว่าง Krousar Thmey และแผนงานพัฒนาคนหูหนวก ทั้งสององค์กรต่างทำงานอย่างหนักเพื่อขยายแผนงานฝึกอบรมภาษามือในพื้นที่ชนบทอื่นๆ ในประเทศกัมพูชา ในขณะเดียวกัน ทั้งสององค์กรต่างก็กำลังพัฒนาคู่มือหนังสือภาษามือที่ครอบคลุมคำศัพท์ถึง 17,000 คำ ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นมาตรฐานภาษามือในประเทศกัมพูชาอย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคหลายอย่าง อีกทั้งยังมีการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องสำคัญคือการนำโครงการฝึกอบรมภาษามือโดย Krousar Thmey และโครงการพัฒนาคนหูหนวกไปใช้ปฏิบัติจริง นาย ชาร์ล ดิทไมเออร์ ผู้อำนวยการ โครงการ Maryknoll ในแผนงานพัฒนาคนหูหนวกกล่าวว่า “จากการประเมินของเรา มีคนหูหนวกอย่างน้อย 50,000 คนในประเทศกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ทั้ง Krousar Thmey และแผนงานพัฒนาคนหูหนวกสามารถเข้าถึงคนหูหนวกได้เพียง 3% ของคนหูหนวกทั้งหมด พ่อแม่บางคนไม่ยอมให้ลูกๆ ที่หูหนวกอยู่โดยพึ่งพาตนเองด้วยเกรงว่าจะถูกเอาเปรียบ ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ทั้งสององค์กรจำเป็นต้องทำ” นาย เฮิร์ฟ โร๊คแพลน ผู้อำนวยการทั่วไป Krousar Thmey กล่าวว่า “วัตถุดิบในการฝึกอบรมมีจำนวนจำกัด เรายังขาดผู้ฝึกอบรมที่เชี่ยวชาญด้านภาษามือในประเทศกัมพูชา” คนหูหนวกในประเทศกัมพูชามีความกระตือรือร้นที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันคนหูหนวกตระหนักถึงการที่ชีวิตของพวกเขาสามารถทำให้เติมเต็มได้ ทั้ง Krousar Thmey และแผนงานพัฒนาคนหูหนวกจะเป็นพลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในการทำให้ชุมชนคนหูหนวกในประเทศกัมพูชาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - ความร่วมมือระหว่าง Krousar Thmey และแผนงานพัฒนาคนหูหนวกในการเพิ่มจำนวนนักเรียนหูหนวกที่เข้า รับการฝึกอบรม โดยการแสวงหาทุนจากการบริจาค, การแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยกลุ่มหรือองค์กรเพื่อคนพิการและพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง รูปภาพ 1 นางสาว เกง นัท แสดงความขอบคุณที่ได้รับโอกาสฝึกอบรมจากแผนงานพัฒนาคนหูหนวก 2 ชั้นเรียนที่โรงเรียน Krousar Thmey #แผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสำหรับคนพิการทางสายตา จากข้อมูลก่อนปีพ.ศ. 2549 มีประชากรประมาณ 14 ล้านคนในประเทศกัมพูชาซึ่งประมาณ 0.38% หรือประมาณ 53,200 คนที่เป็นคนพิการทางสายตา อย่างไรก็ตามจำนวนคนพิการทางสายตาที่สามารถลงทะเบียนและลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีเพียง 188 คน ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มผู้ทำงานด้านคนพิการและการเลือกตั้ง (Disability and Election Working (DEW) Group) ได้ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การคนพิการแห่งประเทศกัมพูชา (Cambodian Disabled People’s Organization-CDPO) ด้วยความร่วมมือขององค์กรคนพิการในหลายจังหวัด CDPO ได้ให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนพิการทางสายตาในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศในประเทศกัมพูชา ในเบื้องต้น คู่มือสำหรับการเลือกตั้งได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่ม DEW โดยพิจารณาว่าคนพิการหลากหลายประเภทซึ่งมีอุปสรรคในการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ (National Election Committee-NEC) ได้ตกลงที่จะจัดการประชุมประจำเดือนเพื่อหารือประเด็นปัญหาและการแก้ไขปัญหากับตัวแทนของกลุ่ม DEW นาย งิน สาวโรท ผู้อำนวยการบริหาร CDPO กล่าวว่า “เราได้รับรู้ถึงกรณีตัวอย่างในประเทศบังคลาเทศจากเครือข่ายของเรา ว่ามีการจัดเตรียมแผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับคนพิการทางสายตา ส่งผลให้มีการเพิ่มจำนวนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ” แผ่นลงคะแนนเสียงได้ถูกปรับให้เหมาะสมกับคนพิการทางสายตา โดยชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจะอยู่ในตำหน่งตรงตามช่องที่เจาะเป็นรูในแผ่นลงคะแนนเลือกตั้ง ทำให้คนพิการทางสายตาสามารถเข้าถึงข้อมูลและลงคะแนนเลือกตั้งได้อย่างอิสระ NEC ร่วมมือกับ CDPO และองค์กรคนพิการจัดทำแผ่นลงคะแนนเลือกตั้งจำนวน 16,000 แผ่นสำหรับการเลือกตั้งสภาการปกครองท้องถิ่นใน 24 จังหวัด ในปีพ.ศ. 2551 โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากหลายองค์กร นอกจากนั้น NEC ได้ผลิตแผ่นลงคะแนนเลือกตั้งจำนวน 9,000 แผ่น สำหรับการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นในปีพ.ศ. 2555 และการเลือกตั้งในระดับประเทศในปีพ.ศ. 2556 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกัมพูชา ส่วนกล่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้น ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น นาย นิ โคะ คนพิการทางสายตาจากอุบัติเหตุได้เล่าว่า “ผมประหลาดใจที่ได้ใช้แผ่น ลงคะแนนเสียงนี้ โดยการช่วยเหลือและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ผมสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้สมัครและลงคะแนนได้ด้วยตัวเอง ทำให้คนตาบอดได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง” นาย โคะ กล่าวว่า “ผมจำได้ว่าภรรยาผมไม่อยากให้ผมไปที่หน่วยเลือกตั้ง เพราะเธอคิดว่ามันยากสำหรับผม ผมอธิบายให้เธอเข้าใจว่าแผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสำหรับคนตาบอดนื้ ช่วยให้เราลงคะแนนได้เองได้อย่างไร ตอนนี้เธอเข้าใจดี แผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไป” เมื่อ นาย โคะ สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งได้ด้วยตัวเอง เขาและเพื่อนบ้านก็ไปที่หน่วยเลือกตั้งเพื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยใช้แผ่นลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2556 นางสาว เชน ครีท คนพิการทางสายตาในจังหวัด กัมปง สปือ กล่าวว่า “ฉันไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยความช่วยเหลือของพี่ชายในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาฉันก็ได้รู้จักกับแผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสำหรับคนพิการทางสายตาจากหนึ่งในผู้นำองค์กรคนพิการในปีพ.ศ. 2556 ฉันได้รับการสนับสนุนให้ไปหน่วยเลือกตั้งเพื่อลงคะแนนเสียง เจ้าหน้าที่ให้แผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและช่วยให้ฉันเดินไปที่คูหาเลือกตั้งแล้วปล่อยให้ฉันสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยตัวเอง” นางสาว ครีท กล่าวว่า “การลงคะแนนเลือกตั้งด้วยตัวเองเป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับฉัน ฉันดีใจมากที่ได้มีโอกาสในการเลือกพรรคการเมืองด้วยตัวเอง ฉันมีความรู้สึกว่าฉันได้มีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อย่างแท้จริง” ในการใช้แผ่นลงคะแนนเสียงตั้งสำหรับคนพิการทางสายตานั้น มีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น ไม่มีการเตรียมแผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเนื่องจากขาดการประสานงานระหว่างหัวหน้าการปกครองท้องถิ่นหรือหมู่บ้านกับคนพิการทางสายตา ข้อมูลคนพิการทางสายตาที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่ถูกต้อง ความร่วมมือระหว่าง NEC, CDPO และองค์กรคนพิการอื่นที่แลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญนั้น ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปได้ด้วยดี นาย สุโคล็อก ทิปอ รองเลขาธิการ NEC กล่าวว่า “คนพิการทางสายตาไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเลือกตั้ง โดยทั่วๆ ไปแล้ว คนพิการทางสายตาสามารถใช้สิทธิของตนในการเลือกตั้งได้โดยผ่านแผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนี้” นอกจากนั้น ทาง NEC ได้จัดทำคู่มือสำหรับการเลือกตั้งเกี่ยวกับวิธีการใช้แผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและการช่วยคนพิการทางสายตาในวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง NEC มักจะเชิญผู้แทนจากองค์กรด้านคนพิการเพื่อเข้าร่วมการประชุมเพื่อที่จะได้รับฟังข้อเสนอแนะในการช่วยเหลือคนพิการในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง NEC วางแผนที่จะส่งเสริมการใช้แผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผ่านการรณรงค์โดยร่วมมือกับหัวหน้าการปกครองท้องถิ่นหรือหมู่บ้าน แนวทางการปฏิบัตินี้สะท้อนให้เห็นความหมายที่แท้จริงของอิสระในการเข้าถึงข้อมูล โดยการทำให้คนพิการทางสายตาได้รู้สึกถึงความมีเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - จัดการประชุมแห่งชาติเพื่อนำเสนอกรณีตัวอย่างในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและส่งเสริมความตระหนักสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เช่น โทรทัศน์, ผู้สื่อข่าว, องค์กรพัฒนาเอกชน, ผู้บริจาค, องค์กรด้านคนพิการ รูปภาพ 1 ตัวอย่างแผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสำหรับคนพิการทางสายตาในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2 นาย นิ โคะ แสดงตัวอย่างแผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 3 นาย สุโคล็อก ทิปอ อธิบายการใช้แผ่นลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง #การเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านการติดต่อสื่อสารด้วยคำพูดสำหรับคนพิการ เหยื่อสงครามมากมายที่ต้องกลายเป็นคนพิการในประเทศกัมพูชา คนพิการโดยเฉพาะในเขตชุมชนห่างไกลมักถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้านหรือถูกจำกัดในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ในปีพ.ศ. 2551 กลุ่มช่วยเหลือตนเองในจังหวัดเสียมเรียบได้ถูกก่อตั้งด้วยการสนับสนุนจากสมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชาและพันธมิตรอื่นๆ ผู้นำพิการหลายคนได้ถูกเชิญเป็นผู้ฝึกอบรมในเรื่องเครือข่ายและทักษะการนำเสนอข้อมูลให้เข้าถึงประชาชนในท้องถิ่น คนในชนบทประเทศกัมพูชา ทั้งที่พิการและไม่พิการต่างก็ไม่มี โทรทัศน์, วิทยุ, อินเทอร์เน็ต และ โทรศัพท์ การก่อตั้ง กลุ่มช่วยเหลือตนเองช่วยให้คนพิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ นาย ริน แซง คนตาบอดในจังหวัดเสียมเรียบได้กล่าวว่า “ผมถูกทอดทิ้งจากครอบครัวและสังคม ผมรู้สึกสิ้นหวัง แต่ผมเริ่มมีความสุขเมื่อได้มาเข้าร่วมกับกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ผมได้รับความรู้มากขึ้นและได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ตอนนี้ ผู้คนในชุมชนเริ่มยอมรับและให้การสนับสนุนผม นอกจากนั้นผมก็ได้เรียนรู้แล้วว่า คนพิการสามารถได้รับการรักษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ศูนย์สาธารณสุข ผมมีความสุขมากที่ได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้จากผู้นำกลุ่มช่วยเหลือตนเองและผู้นำหมู่บ้าน” นางสาว เพน ยอน คนพิการทางการพูดในจังหวัดเสียมเรียบ ให้ความเห็นไว้ว่า “ฉันเคยมีประสบการณ์เป็นตัวตลกขบขันในที่สาธารณะและถูกมองข้ามจากคนอื่น แต่หลังจากเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ฉันก็มีความสุขที่ได้เรียนรู้ว่ามีคนพิการหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อกระตุ้นความตระหนักรู้ ฉันได้รับข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการจากกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ตอนนี้ฉันไม่รู้สึกว่าถูกกีดกัน เพราะว่าหลายคนยอมรับและมองเห็นว่าฉันมีตัวตน” การสร้างเครือข่ายระหว่างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้นำกลุ่มช่วยเหลือตนเองสามารถช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะแเละเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนพิการได้ กลุ่มช่วยเหลือตนเองในหมู่บ้าน ช็อค รัท จังหวัดเสียมเรียบ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการรณรงค์สิทธิคนพิการ กลุ่มช่วยเหลือตนเอง, คนพิการและครอบครัว, ผู้นำหมู่บ้าน, ผู้นำในแต่ละกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นได้พัฒนาระบบเครือข่ายและการสื่อสารที่ดี อาสาสมัครที่ยินดีช่วยเหลือในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะต่างให้ความช่วยเหลือคนพิการในหมู่บ้านของพวกเขา นาย วงษ์ สรวด หัวหน้าหมู่บ้าน ช็อค รัท กล่าวว่า “เรามีการประชุมกลุ่มเพื่อความสามัคคีเป็นปึกแผ่นในหมู่บ้านของเรา ผู้แทนจากกลุ่มต่างๆ และกลุ่มช่วยเหลือตนเองเข้าร่วมการประชุมเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชุมชน มีการจัดการประชุมกลุ่มช่วยเหลือตนเองทุกเดือน มีการประชุมกลุ่มเพื่อความสามัคคีทุก 2 สัปดาห์” การประชุมโดยปกติจะจัดเพื่อประเมินและตรวจสอบกิจกรรมต่างๆในเบื้องต้น และเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในด้านการบริการและข้อมูลข่าวสารทั่วไปในชุมชน นาย สรวด กล่าวอีกว่า “ผู้นำพิการได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมทั่วไปของกลุ่มเพื่อความสามัคคีในชุมชน มีการส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการ, ปัญหาประเด็นต่างๆ มีหลากหลายหนทางที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะให้กับคนในชุมชน ผู้นำพิการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารและประสานงานในด้านคนพิการ โทรศัพท์มือถือชุมชนถูกใช้เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างผู้นำกลุ่มช่วยเหลือตนเองและกลุ่มเพื่อความสามัคคีเพื่อให้มีการเข้าถึงข้อมูล” กลุ่มช่วยเหลือตนเองมีการเยี่ยมเยือนตามบ้านและใช้ข้อมูลที่เข้าถึงได้สำหรับคนพิการหลากหลายประเภท ในจังหวัดเสียมเรียบ โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหัวหน้าหมู่บ้านและคนพิการท้องถิ่น กลุ่มช่วยเหลือตนเองมีส่วนสำคัญในการตอบสนองความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลระหว่างคนพิการท้องถิ่นที่มีความพิการหลากหลายประเภทที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - จัดทำการฝึกอบรมศูนย์รวมเพื่อการเข้าถึงข้อมูลด้านการบริการสาธารณะผ่านการติดต่อสื่อสาร รูปภาพ 1 นาง เพ็ญ ยอน เล่าประสบการณ์ของตนเองกับสมาชิกกลุ่มช่วยเหลือตนเอง 2 นาย วงษ์ สรวด อธิบายกรณีตัวอย่างในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร #การส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล, การศึกษา และการติดต่อสื่อสาร ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา ข้อมูลข่าวสาร, การศึกษาและการติดต่อสื่อสาร (Information, Education and Communication-IEC) ยังไม่พร้อมและเข้าถึงยากสำหรับทุกๆคน คนพิการหลายๆคน รวมถึงคนพิการทางการได้ยินและการมองเห็น ไม่สามารถได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาศักยภาพของพวกเขา คนพิการทางสายตาก็ไม่สามารถอ่านได้ หากว่าข้อมูลข่าวสารเป็นการเขียนลงบนกระดาษ ในทางตรงกันข้ามคนพิการทางการได้ยิน ก็ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลจากการสื่อสารด้วยคำพูดได้ คนพิการหลากหลายประเภทซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันไม่สามารถเข้าถึงสื่อสำหรับ IEC ได้ ในขณะที่คนที่ไม่พิการไม่ได้มองเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องพิจารณาให้ความสำคัญกับการเข้าถึงสื่อสำหรับ IEC เช่น การบรรยายภาพ, การวาดรูปและตาราง, การแปลภาษามือ, การมีอักษรเบรลล์และอุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ คนจำนวนไม่มากคำนึงถึงว่าการที่สื่อ IEC สามารถเข้าถึงได้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท การวาดรูปและตารางให้เข้าใจง่ายจะได้รับความสนใจจากคนพิการหลากหลายประเภทโดยเฉพาะเด็กพิการ ในทำนองเดียวกัน สื่ออักษรเบรลล์และเสียงสามารถช่วยคนพิการทางสายตาให้สามารถรับรู้เหตุการณ์รอบตัวได้ จากการสำรวจเมื่อปีพ.ศ. 2552 โดยสมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชา พบว่า คนพิการโดยเฉพาะ คนพิการทางสายตา ทางหู และทางสติปัญญามีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล มีการจัดทำกิจกรรมหลากหลายเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสื่อ IEC ในประเทศกัมพูชา นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 สมาคมคนพิการสากล ได้ผลิตสื่อ IEC ที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้ฝึกอบรมท้องถิ่นได้ใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจในกลุ่มคนพิการในเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ, เพศสัมพันธ์, การคุมกำเนิดและการป้องกัน โรคเอดส์ ดร. วิวัท เชาว์ ผู้จัดการโครงการการฟื้นฟูแห่งสมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชา กล่าวว่า “สื่อสำหรับการฝึกอบรมของเราถูกออกแบบตามความต้องการของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย การใช้สีประกอบภาพวาดที่เข้าใจง่าย ได้ถูกนำมาใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจ อุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนช่วยอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงพิการทางการได้ยินในโครงการฝึกอบรมของเรา” สื่อ IECหลายชิ้นผลิตโดยองค์การคนพิการแห่งประเทศกัมพูชา (Cambodian Disabled People’s Organization) สำหรับการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคนพิการและปัญหาต่างๆ รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วย นางสาว ซิโมน ชากริยา คุณแม่ของคนพิการทางสติปัญญา กล่าวว่า “CDPO สมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชา ได้เปิดโอกาสให้ฉันได้เข้าร่วมในการอบรมและจัดหาสื่อ IEC ให้กับลูกชายที่เป็นออทิสติก เขาสามารถเข้าใจฉันได้มากขึ้น จากรูปภาพและคำอธิบาย ลูกชายของฉันมีความสุขมากที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมโดยมีฉันสนับสนุน” ในปีพ.ศ. 2547 Krousar Thmey และสมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชา ได้ร่วมกันพัฒนาหนังสือเพื่อการศึกษาในรูปแบบอักษรเบลล์และเสียงสำหรับคนตาบอด คู่มือการฝึกอบรมที่ทำเป็นอักษรเบลล์ ได้จัดทำขึ้นสำหรับคุณครูผู้สอนและในปีพ.ศ. 2555 ได้มีการจัดทำหนังสือภาษามือสำหรับนักเรียนหูหนวก เพื่อช่วยให้การพัฒนาการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างรวดเร็วสำหรับนักเรียนตาบอดและหูหนวก เครื่องบันทึกเสียง MP3 และคลิปวิดีโอก็มีจัดเตรียมไว้ให้ในชั้นเรียนด้วย นางสาว เฮียง ดาเลน นักเรียนหูหนวก Krousar Thmey กล่าวว่า “ฉันดีใจมาก เมื่อฉันเห็นหนังสือภาษามือสำหรับนักเรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 6 ตอนนี้ฉันสามารถอ่านและเขียนได้แล้ว ฉันเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตแบบมีส่วนร่วม ฉันหวังว่า รูปภาพ, หนังสือและแผ่นพับจะมีการแปลภาษามือและ/หรือคำบรรยายใต้ภาพ เพื่อที่พวกเราคนหูหนวกจะได้เข้าใจความหมายได้ดียิ่งขึ้น” ในปีพ.ศ. 2550 สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศกัมพูชา (Association of Blind in Cambodia-ABC) ร่วมกับองค์การข้อมูลแห่งลุ่มน้ำโขง (Mekong Data Organization) ในประเทศเวียดนาม ได้ผลิตซีดีเสียงเพื่อใช้เป็นสื่อแนะนำเกี่ยวกับการเดิน และการทำงานบ้านได้ด้วยตัวเองของคนตาบอด ซีดีเสียงนี้ยังรวมถึงทักษะการทำการเกษตรไว้ด้วย นางสาว เทป โสพน คนพิการทางสายตาที่ ABC กล่าวว่า “ฉันดีใจมากเมื่อได้รับสื่อ IEC ที่สามารถเข้าถึงได้จาก ABC ช่วยให้ฉันมีความรู้และทักษะ รวมทั้งให้โอกาสในการเข้าร่วมประชุมและการฝึกอบรมในชุมชน ฉันภูมิใจในคนพิการทางสายตาที่ ABC ที่ช่วยให้ฉันได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ฉันอยากจะสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชาได้คำนึงถึงการเข้าถึงสื่อ IEC ในระบบการศึกษา เพื่อให้ครูที่โรงเรียนได้ใช้สื่อ IEC เหล่านี้สำหรับเป็นเครื่องมือการสอนในชั้นเรียน” ตามหลักการข้อ 21 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาตินั้น สื่อ IEC ที่ง่ายต่อความเข้าใจมีประสิทธิผล หากพิจารณาจากสถานการณ์การพัฒนาของประเทศกัมพูชา สื่อ IEC สามารถส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการพัฒนาชุมชนในภาพรวมได้ การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - การจัดทำคู่มือการจัดทำสื่อ IEC ที่เข้าถึงได้สำหรับคนพิการ - การจัดประชุมที่ปรึกษาเกี่ยวกับการใช้คู่มือ - การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอคู่มือสื่อ IEC และติดตามผล รูปภาพ 1 “การเข้าถึงความตระหนักรู้ท้องถิ่น” ผลิตโดยสมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชา 2 สื่อ IEC ที่ใช้ในการฝึกอบรม โดยสมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชา 3 นางสาว ซิโมน ชากริยา อธิบายความหมายในรูปภาพ + กรณีศึกษาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว #การฝึกอบรมทางด้านความเสมอภาคของคนพิการสำหรับสมาคมผู้สื่อข่าว การขาดความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมเกี่ยวกับคนพิการมักนำไปสู่การตีความผิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของคนพิการ หากคำนึงถึงคนพิการในฐานะที่มีส่วนร่วมหลักในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข้อมูลในสังคม “บทบาทของผู้สื่อข่าวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและทัศนคติทางลบเกี่ยวกับคนพิการ” นางสาว แคโรลิน กูริน ที่ปรึกษาด้านสิทธิและการอยู่ร่วมกันในสังคม สมาคมคนพิการสากลประจำประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าว ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งภายในประเทศและสากลทำงานเกี่ยวข้องกับคนพิการและการพัฒนา แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังไม่มีวิธีการเฉพาะในการกระตุ้นความตระหนักด้านคนพิการสำหรับกลุ่มสื่อมวลชน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ยังไม่มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านคนพิการที่เหมาะสมในมุมมองของสื่อ สมาคมคนพิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Disabled People’s Association) และสมาคมคนพิการสากลประจำประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมกันจัดการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการ (DRET) ในปีพ.ศ. 2552 หลังจากนั้นได้มีการจัดการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการสำหรับนักสื่อมวลชน 50 คน โดยผู้เข้าร่วมฝึกอบรมส่วนใหญ่มาจากสมาคมผู้สื่อข่าวประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การฝึกอบรมมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความเข้าใจด้านคนพิการให้แก่สื่อมวลชนและเปลี่ยนทัศนคติของสื่อมวลชนที่มีต่อคนพิการในทางที่ดี ผู้ฝึกอบรมจากหน่วยส่งเสริมสิทธิคนพิการจาก LDPA ได้รับการฝึกอบรมและประสบการณ์เกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการขั้นสูงโดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมคนพิการสากล นาย แสงสุรี พิมพาสอน ผู้ฝึกอบรมการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการ กล่าวว่า “ประมาณร้อยละ 60 ของสื่อมวลชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้ความเห็นว่าเพิ่งได้รับความรู้เกี่ยวกับทัศนคติทางสังคมของคนพิการที่ควรได้รับการปรับใช้ในกิจกรรมสื่อมวลชน” นางสาว พิสมัย สุวรรณลัด ผู้สื่อข่าวแห่ง The Khaosan Pathret Lao (KPL) กล่าวว่า “ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับคนพิการผ่านการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการ การฝึกอบรมช่วยเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบ ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์และความรู้สึกของคนพิการ ฉันจะปรับเปลี่ยนแก้ไขคำที่ใช้เรียกคนพิการให้ถูกต้องตามสิทธิของพวกเขา” ในอดีต คุณ บุณโฮม สุวรรณลัด ผู้สื่อข่าวแห่งหนังสือพิมพ์ The Lao Trade Union ไม่เคยเข้าใจและคิดถึงความจำเป็นและสถานการณ์ของคนพิการ กล่าวว่า “ผมเคยคิดว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ไม่สามารถเป็นผู้นำได้ ในทัศนคติของผม พวกเขาเป็นภาระของสังคม ไม่มีความหวัง แต่การฝึกอบรมทำให้ผมรู้ว่าผมควรมองพวกเขาอย่างไร ผมได้เรียนรู้ว่า พวกเขามีความสามารถ พวกเขาสามารถดูแลตัวเองได้และทำได้เหมือนคนอื่นหลายอย่าง” ผู้เข้าฝึกอบรมการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการอื่นต่างตอบรับว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงาน โดยเฉพาะการเขียนข่าวเกี่ยวกับคนพิการ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ตระหนักถึงการนำเสนอด้านบวกเกี่ยวกับคนพิการนั้น สามารถส่งเสริมความเข้าใจของคนในสังคมเกี่ยวกับคนพิการได้ นักสื่อสารมวลชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำเป็นจะต้องละเอียดอ่อนมากขึ้นในการนำเสนอข่าวหรือมุมองเกี่ยวกับคนพิการในสื่อหนังสือพิมพ์, โทรทัศน์, วิทยุและสื่ออื่น ในการติดตามผลซึ่งเป็นไปในทางที่ดีนั้น LDPA ร่วมกับสมาคมคนพิการสากลได้วางแผนที่จะสานต่อการฝึกอบรมด้านสื่อและคนพิการ นางสาว บุณเวียน หลวงงอด ประธานผู้บริหาร LDPA ได้ให้ความเห็นว่า “จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมุ่งมั่นมากขึ้นในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นสำคัญด้านคนพิการ” นอกจากนั้น ยังมีผลการดำเนินงานอีกอย่างหนึ่งคือ การขยายการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการไปสู่ระดับจังหวัดของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปี พ.ศ. 2557-2558 ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลเบลเยี่ยม คาดว่ากรณีตัวอย่างนี้จะถูกขยายขอบเขตให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม คุณ คามอุณ ทองสุก ผู้ฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการ เชื่อว่า “พวกเราอยากจะสานต่อการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการในอนาคต เนื่องจากผลของกิจกรรมที่ผ่านมาทำให้มีการวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนผู้ฝึกอบรมสำหรับกิจกรรมนี้ โดยมีดัชนีชี้วัดที่แน่นอนที่จะพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแบบยั่งยืนขึ้น” การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - การจัดการฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการและการฝึกอบรมสื่อสำหรับนักสื่อสารมวลชนในกรุงเวียงจันทน์, จังหวัดเวียงจันทน์, จังหวัดสุวรรณเขตและจังหวัดจำปาสัก รูปภาพ 1 การฝึกอบรมด้านสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการ 2 การจำลองสถานการณ์โดยผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 3 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากสมาคมผู้สื่อข่าวประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว #การฝึกอบรมภาษามือเบี้องต้นสำหรับนักสาธารณสุขในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะพิการหรือไม่ คนส่วนใหญ่มักไปโรงพยาบาลเมื่อต้องการการรักษา คนหูหนวกหรือคนหูตึงก็หวังที่จะไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน คนหูหนวกหรือคนหูตึงในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมักใช้บริการร้านขายยาใกล้บ้านมากกว่าที่จะไปโรงพยาบาล คนหูหนวกและคนหูตึงมักจะต้องรอเป็นเวลานานเมื่อใช้บริการโรงพยาบาลและมักไม่ได้รับการรักษาที่เพียงพอ คุณ บุณเติม จันทรลิวงษ์ ประธานสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Association for the Deaf in Lao PDR-AFD) กล่าวว่า “เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษามือ นักสาธารณสุขส่วนมากไม่สามารถสื่อสารกับเราได้ ที่ผ่านมาเมื่อก่อนมีเพียงร้อยละ 3 ของคนหูหนวกในเวียงจันทน์ที่สามารถได้รับการรักษา” ในฐานะกลุ่มช่วยเหลือตนเองส่งเสริมสิทธิคนหูหนวกหรือคนหูตึงในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว AFD จัดกิจกรรมหลายอย่างรวมทั้งการส่งเสริมภาษามือลาวตามหลักการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ ข้อ 21 “เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงสารสนเทศ AFD จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของสมาชิกที่ต้องการการจัดสรรบริการการแพทย์ให้ทั่วถึงและเหมาะสม สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและกลุ่มศิลปินลาว-ไทย ได้จัดการฝึกอบรมภาษามือลาวเบื้องต้นสำหรับนักสาธารณสุขเป็นเวลา 5 วัน ในปีพ.ศ. 2554 ที่ตึกสมาคมคนพิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Disabled People’s Association) มีผู้แทน 2 คนต่อโรงพยาบาล จาก 9 โรงพยาบาลหลักในเวียงจันทน์ โดยมีนายแพทย์, พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อื่นๆ ได้รับเชิญให้เป็นผู้แทนรับการฝึกอบรม มีการฝึกอบรมภาษามือเบื้องต้นและการฝึกอบรมวัฒนธรรมคนหูหนวกในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศออสเตรีย (Australian Agency for International Development-AusAID) แพทย์หญิง หัสนุกร พรหมมาจัก แพทย์ประจำหน่วยวัคซีนแห่งโรงพยาบาลสุขภาพแม่และเด็ก กล่าวว่า “ฉันมีความสุขที่ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้ เพราะภาษามือช่วยให้ฉันสามารถเข้าใจถึงวัฒนธรรมคนหูหนวกและเรียนรู้ภาษามือเบื้องต้น ตอนนี้ ฉันตั้งใจที่จะสื่อสารด้วยภาษามือกับคนหูหนวกที่มารับการตรวจร่างกายและฝากครรภ์" นางสาว ประกอบ ดำรงสิทธิ์ นางพยาบาลประจำแผนกสูตินรีเวชแห่งโรงพยาบาลสุขภาพแม่และเด็ก กล่าวว่า “หลังจากได้รับการฝึกอบรม เพื่อนร่วมงานมักเรียกหาฉันเมื่อมีคนไข้หูหนวกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากพวกเขาคิดว่าฉันสามารถสื่อสารกับคนไข้หูหนวกได้ ฉันเข้าใจถึงสถานการณ์คนหูหนวกมากกว่าเมื่อก่อน ฉันมักจะแบ่งปันประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับคนหูหนวก โดยเฉพาะการเข้าถึงการสื่อสารที่เหมาะสมในโรงพยาบาล ฉันอยากจะแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับภาษามือเบื้องต้นกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้” การฝึกอบรมภาษามือเบื้องต้นสำหรับนักสาธารณสุขนั้นได้ให้โอกาสนักสาธารณสุขเรียนรู้ภาษามือทั้ง อีกทั้งเสริมสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการสื่อสารโดยไม่ใช้เสียงอีกด้วย นอกจากการฝึกอบรภาษามือ AFD พยายามแก้ไขและปรับปรุงคู่มือการใช้ภาษามือและวัฒนธรรมลาวเล่มแรก ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อเปิดโอกาสให้นักสาธารณสุขและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นได้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคนหูหนวก นาย จันทราลิวงษ์ กล่าวว่า “ผลจากการจัดการฝึกอบรมของคนหูหนวกในเวียงจันทน์สามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ใน 9 โรงพยาบาลหลักซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบันประมาณร้อยละ 15 อัตราการได้รับการรักษาที่เพิ่มขึ้นสามารถเป็นดัชนีวัดประสิทธิผลของการจัดการฝึกอบรมการฝึกภาษามือเบื้องต้น การฝึกอบรมดังกล่าวสามารถปฏิบัติตามต้นแบบในเขตชนบทในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้คือ - การฝึกอบรมภาษามือเบื้องต้นให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรไม่แสวงหากำไร 50 คน รูปภาพ 1 นาย บุญเติม จันทราลิวงษ์ แสดงการฝึกอบรมภาษามือเบื้องต้น 2 พยาบาลกำลังสื่อสารกับคนไข้หูหนวก 3 นักสาธารณสุข 2 คนต่อโรงพยาบาล จากโรงพยาบาล 9 แห่ง เข้าร่วมการฝึกอบรมการใช้ภาษามือ #แฮนด์มีและแฮนด์ทอล์ก : แอพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือและเครื่องมือการเรียนรู้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นาย พุฒกร คุณาวงษ์ อดีตนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า “ผมต้องการพัฒนาบางอย่างเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างคนหูหนวกและคนที่มีการได้ยิน” นาย คุณาวงษ์ ไม่เคยคิดว่าจะสามารถสมหวังที่จะสื่อสารกับคนหูหนวกได้ นายพุฒกรกล่าวว่า “ผมเคยรู้สึกไม่สบายใจเวลาที่คนหูหนวกเข้ามาถามเวลา ผมไม่รู้ว่าจะใช้ภาษามือสื่อสารได้อย่างไร ในภาพยนตร์ลาวเรื่อง “ที่ปลาย ขอบฟ้า” เป็นแรงบันดาลใจและเริ่มที่จะคิดหาวิถีทางที่จะเชื่อมช่องว่างด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกและคนที่มีการได้ยิน นาย คุณาวงษ์เริ่มการออกแบบแอพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือสำหรับวิทยานิพนธ์ของเขา เขาเริ่มจากการไปที่ศูนย์ฟื้นฟูทางการแพทย์ (Center of Medical Rehabilitation) เพื่อรวบรวมข้อมูลและได้รับคำแนะนำให้ไปที่สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Association for the Deaf in Lao PDR) นายพุฒกร กล่าวว่า “เรื่องราวประวัติเกี่ยวกับภาษามือในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคืออะไร? เทคโนโลยีอะไรที่สามารถช่วยเหลือคนหูหนวกและหูตึงในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้?“ เขาได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากเจ้าหน้าที่ของ AFD รวมทั้งการได้รับการฝึกอบรมภาษามือเบื้องต้นเป็นเวลา 2 เดือน จัดโดยสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Association for the Deaf in Lao PDR-AFD) นาย คุณาวงษ์ ได้พัฒนาแอพลิเคชั่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ เรียกว่า แฮนด์มี ซึ่งนำเสนอวีดีโอภาษามือ นาย คุณาวงษ์ กล่าวเสริมว่า“เมื่อดาวน์โหลดแฮนด์มี ก็จะสามารถใช้งานได้แม้ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนยังไม่แพร่หลายในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผมรอคอยเวลาที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนจะมีราคาถูกลง คนจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึงและดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นแฮนด์มี” เว็บไซต์แฮนด์ทอล์กได้ถูกพัฒนาโดยบริษัท ลาว ไอที ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เพื่อเสริมการใช้งานแฮนด์มีในอีกหลายรูปแบบ นาย คุณาวงษ์ ซึ่งเป็นพนักงานพาร์ทไทม์สนับสนุนด้านสารสนเทศของบริษัท ลาว ไอที ดีเวลลอปเมนท์ จำกัดได้เสนอให้บริษัทฯ ให้การสนับสนุนโครงการนี้ ทางบริษัทฯ ได้ตอบตกลงและขยายการสนับสนุนในการพัฒนาเว็บไซต์แฮนด์ทอล์กเพื่อเสริมการใช้งานแฮนด์มี โดยที่แฮนด์ทอล์กจะเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน นาย ทนงศักดิ์ สุขสวัสดิ์ ประธานบริหารบริษัท ลาว ไอ ที ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า “เว็บไซต์แฮนด์ทอล์กเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ด้านภาษามือสำหรับคนหูหนวกและสังคม การจัดหาและการพัฒนาการสื่อสารระหว่างคนหูหนวกและคนที่มีการได้ยิน” นาย สุขสวัสดิ์ กล่าวเสริมว่า “ทั้งแฮนด์มีและแฮนด์ทอล์กมีประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างคนหูหนวกและคนที่มีการได้ยิน สิ่งที่พวกเขาต้องทำก็เพียงแค่เข้าไปดูวีดีโอและทุกคนก็สามารถเรียนภาษามือได้” AFD ได้ให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิค รวมทั้งคำศัพท์ภาษามือและวิดีโอการใช้ภาษามือ เจ้าหน้าที่ของ AFD เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพและความเหมาะสมในการสาธิตภาษามือในวีดีโอ คุณ บุญเติม จันทราลิวงษ์ ประธานองค์กร AFD กล่าวว่า “เราพยายามส่งเสริมและสนับสนุนแฮนด์มีและแฮนด์ทอล์กในกลุ่มสมาชิกของพวกเรา รวมทั้งสังคมด้วย เนื่องจากแฮนด์มีและแฮนด์ทอล์กเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับคนหูหนวก” นางสาว นิด จิตติวงษ์ เจ้าหน้าที่ฐานข้อมูลเชื่อมโยงนายจ้างและลูกจ้างพิการ (Linking Employers with Employees with Disability-LEED) ซึ่งเป็นโครงการของสมาคมคนพิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Disabled People’s Association-LDPA) ใช้แฮนด์ทอล์กในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน กล่าวว่า “สิ่งที่ฉันชอบมากในเว็บไซต์ รวมถึง แอพลิเคชั่นโทรศัพท์นี้ ก็คือ วิดีโอที่ง่ายต่อการใช้ มีการนำเสนอคำศัพท์และวลีที่เรียนรู้ง่ายหลายหมวดหมู่ เว็บไซต์นี้ช่วยให้ฉันสามารถสื่อสารกับสมาชิกของชุมชนคนหูหนวกได้เป็นอย่างดี" ในปัจจุบัน แฮนด์มี มีคำศัพท์ถึง 300 คำและแฮนด์ทอล์ก มีคำศัพท์ถึง 500 คำและมีวิดีโอนำเสนอการใช้งานอยู่ประมาณ 35 ชุด ทั้งแอพลิเคชั่นและเว็บไซต์ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตจะมีแผนการที่จะเพิ่มภาษาอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ นาย คุณาวงษ์ กล่าวว่า “บางทีผลกระทบสำคัญของเทคโนโลยีทั้งแฮนด์มีและแฮนด์ทอล์กคือการสร้างสัมพันธ์ระหว่างบริษัท ลาว ไอที ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจท้องถิ่นและ AFD ซึ่งเป็นองค์กรของคนหูหนวกแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความร่วมมือนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสามารถเป็นการเตรียมการสำหรับการนำไปสู่ธุรกิจเพื่อคนพิการในอนาคต” การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - การปรับปรุงคุณภาพของเว็บไซต์และผู้ใช้สามารถอัพโหลดวีดีโอหรือคำศัพท์ภาษามือไว้ในเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง - การปรับปรุงแอพลิเคชั่นสำหรับระบบแอนดรอยด์และสมาร์ทโฟน แทปเล็ท - การจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ AFD เกี่ยวกับการจัดการเว็บไซต์ - การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (www.handtalklao.org) และ แอพลิเคชั่นในชุมชน รูปภาพ 1 นาย ทนงศักดิ์ สุขสวัสดิ์ ผู้อำนวยการบริหารบริษัท ลาว ไอที ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด 2นางสาว ผานิตา ใหม่โฟน กำลังดูข้อมูลในแอพลิเคชั่น แฮนด์มี 3สามารถดาวน์โหลดแฮนด์มีได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย #การพัฒนาโปรแกรมเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตา เนื่องจากการขาดโอกาส คนพิการทางสายตาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจึงต้องเผชิญกับอุปสรรคในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในฐานะสมาชิกในสังคม สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Association of the Blind-LAB) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2550 เนื่องจากมีการรับรู้ถึงความจำเป็นของคนพิการทางสายตา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสมากขึ้นให้คนพิการทางสายตาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว LAB พยายามที่จะเสริมสร้างศักยภาพคนพิการทางสายตาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามแนวทางการวิวัฒนาการของความคิดด้านคนพิการ โดยร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (Thailand Association of the Blind-TAB) TAB ในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมเสียงที่ออกแบบมาเพื่อคนพิการทางสายตาโดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center-NECTEC) โปรแกรมเสียงหรือที่รู้จักกันว่าเป็นโปรแกรมอ่านจอภาพภาษาไทยที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย มีประโยชน์สำหรับคนตาบอดในการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบมือถือ โปรแกรมอ่านจอภาพนี้เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับทั้งคนตาบอดและคนพิการทางสายตาอื่นๆ ซึ่งต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในอินเทอร์เน็ต นาย มณเฑียร บุญตัน อดีตประธาน TAB กล่าวว่า “โปรแกรมเสียง เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ตาบอดในประเทศไทย สำหรับเราแล้ว หลายคนไม่สามารถซื้อโปรแกรมที่มีราคาแพงที่มีขายอยู่ในอินเทอร์เน็ต” ดร. อิศวรา ศิริรุ่งเรือง อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตและอีเมลเมื่อการติดตั้งโปรแกรมเสียงในโทรศัพท์ ตอนที่โปรแกรมอยู่ในช่วงทดสอบ หลายคนดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อใช้งานได้ มีการใช้งานโปรแกรมเสียงในหลายรูปแบบ รวมทั้งการอ่านหนังสืออิเลคทรอนิกและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอื่นๆ” ในปี พ.ศ. 2555 รัฐบาลลาวโดยกระทรวงไปรษณีย์, โทรคมนาคมและการสื่อสาร (Ministry of Post, Telecommunication and Communication) เริ่มพัฒนาโปรแกรมสียงลาวสำหรับคนพิการทางสายตา โดยความร่วมมือกับ NECTEC ซึ่งช่วงแรกนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ LAB เริ่มมีส่วนร่วมกระบวนการพัฒนาโปรแกรมเสียงในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยการสนับสนุนจากTAB โดย LAB ได้ดำเนินการตามแบบอย่างของ TAB โดยคำนึงถึงสมาชิกที่ไม่สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบเดียวกันที่มีขายในราคาแพงได้ นางสาว กองแก้ว ทูนาลม ประธาน LAB กล่าวว่า “โปรแกรมเสียงลาวมีไว้เพื่อช่วยให้คนพิการทางสายตาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในอินเทอร์เน็ตได้ง่าย, สามารถสื่อสารกับคนอื่นโดยผ่านการใช้อีเมลและสามารถใช้เครือข่ายออนไลน์ได้สะดวก เราต้องมีการพัฒนาโปรแกรมเสียงลาวเพื่อให้สมาชิกได้ใช้ประโยชน์” การมีส่วนร่วมของ LAB ในการพัฒนาโปรแกรมเสียงลาวมีความสำคัญมาก นางสาว ทุนาลม กล่าวว่า “เป็นการดีมากที่กระทรวงไปรษณีย์, โทรคมนาคมและการสื่อสาร และ LAB ได้มีการร่วมมือเพื่อเป้าหมายเดียวกัน ในการเปิดโอกาสให้กับคนพิการทางสายตาได้มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอิเลคทรอนิกโดยผ่านทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้ด้วยตัวเอง การมีส่วนร่วมของเราเป็นสิ่งจำเป็นมากในกระบวนการพัฒนาเนื่องจากเราเองที่เป็นผู้ใช้” คาดว่าการผลิตโปรแกรมเสียงลาวนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในอีกไม่นาน คนพิการทางสายตาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านโปรแกรมเสียงนี้ นางสาว ทุนาลม กล่าวว่า “LAB เชี่อว่าโปรแกรมนี้จะช่วยเราได้มากเนื่องจากมันช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนพิการทางสายตามากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น คาดว่าโปรแกรมเสียงนี้จะได้รับการรับรองโดยกระทรวงศึกษาและการกีฬาและจะมีการใช้ในสถานศึกษาต่อไป” การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ -การพัฒนาโปรแกรมเสียงภาษาลาว -การส่งเสริมการใช้โปรแกรมเสียงภาษาลาวในชุมชน โดยเฉพาะในโรงเรียนคนตาบอด รูปภาพ 1 นางสาว กองแก้ว ทูนาลม ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวความคิดของคนพิการทางสายตา 2 การรณรงค์การพิทักษ์สิทธิโดยสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว #การเผยแพร่ข้อมูลด้านการบริการสาธารณะในหมู่บ้านชนบท หนึ่งในผลงานสำคัญของสมาคมคนพิการสากล (Handicap International) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ โครงการการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (Community-Based Rehabilitation-CBR) โดยความร่วมมือของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแห่งชาติ (National Rehabilitation Center-NRC) ใน 4 หมู่บ้านนำร่อง ในเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นาย บุณ เป ชาวบ้านในหมู่บ้านน้อย กล่าวว่า “พ่อแม่หลายคนได้เรียนรู้ในการดูแลลูกที่พิการและปรับใช้บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากโครงการ CBR” นางสาว นู เหอ หญิงพิการในหมู่บ้านโพนคำเหนือ กล่าวว่า “เมื่อพ่อแม่ของฉันได้เข้าร่วมการอบรม CBR พวกเขาก็ได้รับข้อมูลและความรู้ใหม่ ได้นำมาใช้ในการดูแลฉัน หลังจากนั้น ฉันก็สามารถเดินไปโรงเรียนได้ด้วยการช่วยเหลือจากเพื่อนในหมู่บ้านเดียวกัน” หมู่บ้านเหล่านี้ได้รับประโยชน์อย่างมากจากโครงการ CBR ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งคนพิการ, สมาชิกในครอบครัวและคนในหมู่บ้านต่างได้รับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทั้งระดับหมู่บ้าน, อำเภอและจังหวัด ตัวอย่างเช่น หัวหน้าหมู่บ้านใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ เพื่อที่ทุกคนในหมู่บ้านจะได้รับข้อมูลนั้นๆ ในหมู่บ้านชนบทการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้วยวิธีง่ายๆอย่างนี้ได้ผลดีมาก โดยคำนึงถึงความจริงที่ว่า หลายคนในพื้นที่ห่างไกล, ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา, ไม่สามารถอ่านออกเขียนภาษาลาวได้ ดังนั้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการประกาศในที่สาธารณะ จึงทำให้ผู้คนในหมู่บ้านได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่เกิดขึ้นรอบด้านอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัดในจังหวัดเวียงจันทน์ ก็พยายามสนับสนุนให้หัวหน้าหมู่บ้านจัดกิจกรรม CBR อย่างต่อเนื่อง โดยให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการเช่นการสนับสนุนในขั้นพื้นฐานต่างๆ ความยั่งยืนถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นาย ศรีเสมอ อินทวงศา ผู้จัดการโครงการส่งเสริมองค์กรคนพิการของสมาคมคนพิการสากล ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า “การสื่อสารด้วยคำพูดโดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารเช่น เครื่องขยายเสียงได้ถูกนำมาปรับใช้ในการรับรองการเข้าถึงข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะระหว่างชาวบ้าน ขณะเดียวกัน การไปเยี่ยมเยียนตามบ้านก็เป็นระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่ได้ผลดี โดยเฉพาะกับกลุ่มชาวบ้านที่เป็นคนพิการทางสายตา, คนหูหนวกและคนหูตึงและคนพิการทางสติปัญญา วิธีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอื่น อาทิเช่น กระดานข่าวในพื้นที่สาธารณะ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำหรับคนพิการและสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้เพื่อนบ้านมีความเข้าใจในคนพิการมากขึ้น คุณ แกมแก้ว แกมสะวงษ์ เลขาหมู่บ้านโพนคำเหนือ กล่าวว่า “ในอดีต คนพิการไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมในหมู่บ้าน อาทิเช่น งานเทศกาล, งานแต่งงาน ดังนั้น เราจึงเริ่มที่จะชักชวนคนพิการและสมาชิกในครอบครัว ให้เข้าร่วมการประชุมหมู่บ้าน การที่พวกเขาเข้าร่วมประชุมทำให้พวกเราเข้าใจในสถานการณ์ของพวกเขา” กิจกรรม CBR ในหมู่บ้านได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้จัดการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ทำให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการบริการสาธารณะได้อย่างต่อเนื่อง นาย อินทวงษา กล่าวว่า “ปัจจัยที่สำคัญคือ การก่อตั้งเครือข่ายท้องถิ่นระหว่างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระดับจังหวัด, อำเภอ และหมู่บ้านและคนในชุมชนเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการบริการสาธารณะ โครงการ CBR ได้อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการสร้างแนวทางการเข้าถึงที่เหมาะสมในการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ชาวบ้าน รวมทั้งคนพิการและสมาชิกในครอบครัว นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้จากโครงการ CBR อีกว่า การให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน, การดำเนินงาน, และการตรวจสอบเพื่อสานต่อการฝึกอบรมการสร้างศักยภาพเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ของผู้มีส่วนร่วมในด้านคนพิการและการพัฒนา อีกทั้งมีการใช้แนวทางที่ใช้ได้จริงสำหรับชาวบ้านที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภายในหมู่บ้านของตนเอง” การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางกรณีตัวอย่างนี้ คือ - การพัฒนาคู่มือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริการหลัก - การจัดการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น - การใช้เครื่องขยายเสียง, การเยี่ยมเยียนตามบ้านและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางกระดานข่าว - การส่งเสริมการใช้คู่มือข้อมูลข่าวสารระหว่างอาสาสมัครในหมู่บ้านและคนทำงาน รูปภาพ 1 นาย บุณ เป อาศัยอยู่ในหมู่บ้านน้อย 2นาย ศรีเสมอ อินทวงศา ที่สำนักงานของสมาคมคนพิการสากล 3 การบริการสาธารณะ โดยเจ้าหน้าที่หมู่บ้าน *VII. บทสรุป การบ่งชี้ถึงกลุ่มกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำหรับคนพิการ ทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยใช้วิธี “ทำให้ได้ผล” ในแต่ละกรณีได้แสดงให้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายกลุ่มจากสังคมซึ่งรวมทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชีวิตคนพิการ กรณีตัวอย่างได้แสดงให้เห็นว่าองค์กรคนพิการเหล่านี้ไม่เพียงแค่เป็นฐานในงานพิทักษ์คนพิการแต่องค์กรเหล่านี้ก็ได้มีบทบาทในการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเริ่มในอีกไม่กี่เดือนในสองประเทศ มีความเป็นไปได้สำหรับการแลกเปลี่ยนในระดับภูมิภาคและโอกาสที่จะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค ที่จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 21-23 มกราคม พ.ศ 2557 กรณีตัวอย่างเหล่านี้ สามารถนำไปปฏิบัติตามในอนาคตโดยผู้ปฏิบัติงานในภูมิภาค ข้อเสนอแนะสำคัญบางอย่างสำหรับการนำไปปฏิบัติตาม มีดังนี้ - ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายในแง่ของกระบวนการแนวความคิดและการปฎิบัติงาน ได้แก่ ผู้ตัดสินใจ, ผู้ให้การบริการ, ผู้ให้และผู้ใช้บริการ และความจำเป็นในการให้เวลาสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติเหล่านั้น รวมทั้งความพร้อมและความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ คือกุญแจแห่งความสำเร็จ - ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของคนพิการในการออกแบบและร่วมดำเนินงาน - หากกรณีตัวอย่างพัฒนาโดยองค์กรระหว่างประเทศ การให้บทบาทผู้นำแก่ผู้ปฏิบัติงานท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญที่จะสร้างความเป็นเจ้าของที่ดีและความยั่งยืนในการปฏิบัติงาน - ความสำคัญในการตรวจสอบความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันของกรณีตัวอย่างเป็นสิ่งจำเป็น หากว่ามีการปรับใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน - ความจำเป็นที่จะคำนึงถึงว่าการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำหรับคนพิการอาจต้องการการดัดแปลงทางเทคนิค แต่การคำนึงถึงทัศนคติก็เป็นสิ่งสำคัญด้วย *VIII. พันธมิตรอื่น - คณะกรรมการเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุแห่งชาติ, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (National Committee for Disabled and Elderly People-NCDE) คณะกรรมการเพื่อคนพิการแห่งชาติ (National Committee for Disabled People-NCDP) ก่อตั้งขึ้นโดยกฤษฎีกาในปีพ.ศ. 2538 ถือเป็นหน่วยงานระหว่างกระทรวงระดับสูงที่มีหน้าที่ประสานงานด้านคนพิการระหว่างหน่วยงานด้านคนพิการในประเทศ แต่ไม่ได้มีการดำเนินงานเป็นระยะเวลาหลายปี จนกระทั่งมีการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการในปีพ.ศ. 2552 กฤษฎีกา หมายเลข 61/PM ถูกประกาศเพื่อกำหนดบทบาทของ NCDP มาตรา 2 ของกฤษฎีกานี้ ระบุว่า NCDP ในฐานะ “หน่วยงานรัฐบาล ทำงานเพื่อสนับสนุนรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีในการประสานงานกับกระทรวงต่างๆ, หน่วยงานบริหารและหน่วยงานท้องถิ่นในการปกป้อง, ปกครอง, ฟื้นฟู, สนับสนุนและพัฒนาคนพิการในประเทศ” NCDP มีหน่วยงานตัวแทนในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ แต่หน่วยงานดังกล่าวยังไม่ได้มีการดำเนินงานเท่าใดนัก สำนักงานประสานงานแห่งชาติของ NCDP อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (Ministry of Labor and Social Welfare) ตามกฤษฏีกา หมายเลข 232/PM เดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556, NCDP ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ”คณะกรรมการเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุแห่งชาติ (National Committee for Disabled and Elderly People-NCDE)” - สมาคมคนพิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Disabled People’s Association-LDPA) สมาคมคนพิการแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวก่อตั้งเมื่อ ปีพ.ศ. 2544 เป็นองค์กรที่มีฐานสมาชิก ทำงานเพื่อคนพิการ มีการรณรงค์พิทักษ์สิทธิคนพิการและให้บริการที่เหมาะกับความต้องการของสมาชิก สมาคมฯ ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมาคมฯ มีสมาชิกมากกว่า 16,000 คนทั่วประเทศ มุ่งเน้นการเป็นตัวแทนเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับคนพิการในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไม่ได้จำกัดเฉพาะผลประโยชน์ของสมาชิกเท่านั้น LDPA ทำงานในระดับประเทศและระดับจังหวัดเป็นหลัก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียงจันทน์ LDPA ทำงานโดยร่วมมือกับหลายองค์กร - องค์การคนพิการแห่งประเทศกัมพูชา (Cambodian Disabled People’s Organization-CDPO) องค์การคนพิการแห่งประเทศกัมพูชา (Cambodian Disabled People’s Organization-CDPO) เป็นการขับเคลื่อนของกลุ่มคนพิการในประเทศกัมพูชา ก่อตั้งในเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2537 CDPO เป็นองค์กรเอกชนที่มีฐานสมาชิก มุ่งเน้นการรักษาผลประโยชน์ให้กับคนพิการในประเทศกัมพูชา ทำหน้าที่เป็น “กระบอกเสียงให้กับคนพิการในประเทศกัมพูชา” CDPO แตกต่างจากองค์กรด้านคนพิการอื่นในประเทศกัมพูชา โดยมีการสร้างเครือข่ายระดับประเทศ มีสมาชิกเป็นองค์กรคนพิการ มีการตั้งเครือข่ายหญิงพิการ (Women with Disability Forum-WWDF) CDPO ไม่ได้มอบอุปกรณ์หรือบริการการฟื้นฟู แต่เป็นตัวแทนกลุ่มองค์กรคนพิการและเครือข่ายหญิงพิการในระดับประเทศ มีการรณรงค์สิทธิคนพิการและรักษาผลประโยชน์โดยการช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิและ ผลประโยชน์ อีกทั้งเสริมสร้างความตระหนักรู้และศักยภาพของคนพิการในการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี - ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Development Center on Disability-APCD) ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Development Center on Disability) เป็นศูนย์ด้านคนพิการและการพัฒนาแห่งภูมิภาค ก่อตั้งในกรุงเทพมหานครฯ ประเทศไทย เพื่อสานต่อการดำเนินงานสำหรับทศวรรษผู้พิการแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกช่วงปีพ.ศ 2536-2545 ด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงพัฒนาสังคมและสวัสดิการความมั่นคงของมนุษย์, รัฐบาลไทยและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA), รัฐบาลญี่ปุ่น มีความร่วมมือระหว่างประเทศมากกว่า 30 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก APCD บริหารงานโดยมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก ในพระบรมราชูปถัมน์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific-ESCAP) รับรอง APCD ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาคนพิการแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในยุทธศาสตร์แห่งอินชอนว่าด้วย “การรณรงค์สิทธิคนพิการ” ในปีพ.ศ. 2556-2565 <ปกหลัง> สมาคมคนพิการสากล ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 51/1 ถนน ฮ่องแค, บ้านสีแสงวอน, เวียงจันทน์, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โทร: +856-21412110 / อีเมล: hilaos@handicap-international-laos.org เว็บไซต์: www.handicap-international.org สมาคมคนพิการสากล ประเทศกัมพูชา # 9AB, ถนน 466, แสงกัด ทูล ทอมพวน 1, ขาน ชำการ์ มอน, พนมเปญ, ประเทศกัมพูชา โทร: +855-23232897 / อีเมล: handicap-international@infonie.fr เว็บไซต์: www.handicap-international.org สำนักงานประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชนและแรงงานกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา